ดอยช้าง...ดินแดนแห่งกาแฟระดับโลก เครื่องดื่มที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนทำงาน หรือมนุษย์เงินเดือน ที่จะเห็นได้ตอนเช้า ๆ และช่วงบ่ายแก่ๆ คงหนีไม่พ้น กาแฟ เครื่องดื่มยอดฮิต ที่ไม่ว่าคนรุ่นไหน ถ้าได้ลองลิ้ม ชิมรสแล้ว ยากที่จะถอนตัวได้
และถ้าพูดถึง กาแฟ หลายคน หรือเกือบจะ 100% ก็คงนึกถึงกาแฟจากบราซิล หรือศรีลังกา ประเทศที่ส่งออกกาแฟเป็นอันดับต้นๆ ของโลก แต่หารู้ไม่ว่า กาแฟไทย อย่าง กาแฟดอยช้าง แม้จะไม่ได้ส่งออกมากที่สุดในโลก แต่ก็เป็นกาแฟที่ได้คุณภาพ ไม่เป็นสองรองใครในโลก
บนดอยช้างแห่งนี้ แต่เดิมเป็นพื้นที่ของพี่น้องชาวไทยภูเขา เชื้อสายละหุ่ง ต่อมาเป็นม้ง ลีซู และสุดท้ายถึงปัจจุบัน มีชาวไทยภูเขาเชื้อสายอีก้ออาศัย ทำมาหากินอยู่มากที่สุด แต่กว่าจะมาเป็นกาแฟดอยช้าง เชื่อไหมว่า พื้นที่ห่างไกลบนดอยแห่งนี้ เต็มไปด้วยเชื้อโรคอย่าง มาลาเรีย และพืชเศรษฐกิจอย่าง ฝิ่น
ต่อมาในปี พ.ศ.2526 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวไทยภูเขา โดยทรงริเริ่มโครงการตามพระราชดำริ พระราชทานพันธุ์พืชที่ทรงคิดว่าจะเป็นพืชเศรษฐกิจ มาทดแทนการปลูกฝิ่น จากนั้นทางรัฐบาลไทยและองค์การสหประชาชาติ เข้ามาให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ชาวบ้านประมาณ 40 ครอบครัวบนดอยช้าง แบ่งเป็นเชื้อสายอีก้อ 20 ครอบครัว และลีซูอีก 20 ครอบครัว จึงได้รับแจกกาแฟพันธุ์อาราบิก้าชั้นดี เพื่อนำมาปลูก พร้อมทั้งสนับสนุนทางด้านเทคนิคต่างๆ เดิมที่ชาวบ้านเก็บกาแฟไปขายกันเอง รายได้ก็ไม่ดีนัก เนื่องจากโดนกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง รวมถึงการไม่มีบัตรประชาชนทำให้ไม่สามารถลงมาทำการค้าขายบนพื้นราบได้ เรื่องดังกล่าวถือเป็นความล้มเหลวของการค้าขายกาแฟในช่วงแรก และด้วยความหมดหวังของชาวบ้าน ทำให้ต้นกาแฟที่มีอยู่กว่า 600 ไร่ถูกฟันทิ้ง แต่ฟันทิ้งเท่าไร มันก็ขึ้นมาอีก ... ด้วยเหตุนี้เอง อาเดล คุณปณชัย พิสัยเลิศ จึงต้องลงจากดอย มาหาที่ปรึกษาอย่าง อาบ๊อ คุณวิชา พรหมยงค์ จนเกิดเป็นการรวมกลุ่มทางความคิด แรงงานของพี่น้องเกษตรกรในหมู่บ้าน จนในที่สุดเกิดการจัดตั้งเป็นบริษัทขึ้นด้วยเงินไม่กี่บาท ที่มีทั้งโรงงานผลิต และโรงเก็บกาแฟ ซึ่งเครี่องไม้เครื่องมือส่วนใหญ่ ก็ทำขึ้นเอง นอกจากเครื่องที่มีความเป็นเทคโนโลยีสูงจึงสั่งซื้อ
ทริปกาแฟดอยช้างถือเป็นทริปประทับใจ ด้วยเสน่ห์หลายอย่างที่ไม่สามารถพบได้ในแหล่งปลูกกาแฟอื่นๆ เช่นการเป็น แหล่งปลูกที่คั่วกาแฟเอง จำหน่ายกาแฟคั่วของตัวเอง ภายใต้แบรนด์ของตัวเอง เป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิตของชาวบ้านจากผลเชอรี่ที่กิโลกรัมละไม่กี่บาท กลายเป็นกาแฟคั่วในบรรจุภัณฑ์อย่างดีกิโลกรัมละพันกว่าบาท สร้างชื่อเสียงให้กับกาแฟไทยให้เป็นที่รู้จักกันในระดับสากล สิ่งที่เห็นแล้วทำให้ยิ้มค้างอยู่นานคือ โรงคั่วที่ตั้งบนดอยนั้นมีเครื่องชงกาแฟเอสเปรสโซแบบอัตโนมัติ ที่ซึ่งชาวบ้านทุกคนสามารถเอาแก้วเข้ามากดดื่มได้ไม่จำกัด บางคนวนเวียนทำ งานไปดื่มไปวันละ 6-7 แก้ว ชื่นชมกับกาแฟที่ปลูกเอง คั่วเองกับมือ เป็นภาพที่หาไม่ได้ง่ายนักในแหล่งปลูกอื่นๆ ทั่วโลก ผู้พาเราขึ้นไปคือ “อายู” ลูกชายคุณ “พิก่อ” ชาวอีก้อเจ้าของรูปโลโก้กาแฟดอยช้าง ภาพด้านบนนั้น อายูชี้ให้ดูตอนเราอยู่เหลี่ยมเขาอีกด้านหนึ่งจะเห็นลานตากกาแฟและโรงคั่ว กาแฟ ในภาพจะเห็นกลุ่มควันลอยขึ้น หมายถึงกำลังคั่วกาแฟกันอยู่ ผลเชอรี่แดงสุกปรั่งจากผืนดินที่เคยปลูกฝิ่นได้ดี วันนี้กลายเป็นแหล่งปลูกกาแฟชั้นยอด เมื่อเก็บผลเชอรี่แล้วจะนำมาเข้าเครื่องลอกเปลือก นำไปหมัก ล้าง ตากตามขั้นตอนจนกลายเป็นสารกาแฟ สวนกาแฟอยู่ในหุบเขา แต่ก็ไม่หลังเขาอีกต่อไปเพราะเดี๋ยวนี้เขาต่อเน็ตติดจานดาวเทียมกันแล้ว เครื่องคั่วกาแฟของกาแฟดอยช้าง ใครที่ได้ขึ้นไปชอบไปถ่ายรูปด้วยเพราะมันสวยและใหญ่คลาสิคจริงๆ “บาธ ลุควิคเบิร์ก” จากซีร็อคโค่ แยกส่วนขนขึ้นมาประกอบบนดอยด้วยความลำบากสาหัส แต่ก็คุ้มค่า บาธ เครื่องนี้คั่วได้ครั้งละ 60 กิโลกรัม ภาพด้านบนนั้นตัวกล่องสีดำเป็นเบิร์นเน่อระดับหลายแสนบีทียู ใช้เผาอากาศให้ร้อนส่งไปยังห้องคั่ว เราเรียกระบบนี้ว่า hot air แต่ถังคั่วยังใช้แบบดรัมเพื่อกวาดเมล็ดขึ้น ตามสไตล์การคั่วด้วยเครื่องแบบนี้จะทำให้กลิ่นเมล็ดคั่วสะอาดสะอ้าน สุกสม่ำเสมอ ไม่มีรอยไหม้ มือคั่วของเราคือ “อาคอง” (คนที่ถือจาน) เป็นคนใจเย็นละเอียดและไม่สูบบุหรี่ จึงถูกวางตัวไว้ให้กำบังเหียนเจ้าบาธตัวข้างบน พอคั่วเสร็จอาคองยังต้องมาช่วยบรรจุกาแฟลงถุงด้วย กาแฟดอยช้างเป็นที่ร่ำลือว่ามีกลิ่นหอมของดอกไม้ รสหวานชุ่มคอแซมด้วยรส unsweetend chocolate บอดี้เต็มให้ aftertaste ประทับปากประทับใจ เป็นกาแฟไทยที่ฝรั่งยอมรับนับถือ ความสำเร็จเกิดขึ้นจากมันสมองและแรงบันดาลใจของคนดอยช้างส่งผ่านไปถึงคนทำ กาแฟดอยอื่นๆ รวมถึงคนกาแฟทุกคนที่เสมือนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน คือครอบครัวของ “คนกาแฟ”
|
|
ใกล้จะถึงหน้าหนาวแล้ว หลายท่านคงกำลังวางแผนว่าจะไปเที่ยวที่ไหนกันดี..
ขอแนะนำที่นี่เลยครับ.. ดอยช้าง...จ.เชียงราย ช่วงหน้าหนาวจะมีดอกซากุระบาน
และกาแฟสุกเต็มไปหมด... ดอยช้าง เป็นแหล่งปลูกกาแฟที่มีชื่อเสียง และได้รับ
การยกย่องในเรื่อง คุณภาพของกาแฟ ว่าสุดยอดครับ....
อยากให้ไปเที่ยวกันครับ ชิมการแฟดอยช้างกัน..มาเที่ยวกันครับ...
ทะเลหมอกในช่วงๆ ของหน้าหนาวครับ...
หมู่บ้านดอยช้างครับ...เป็นหมู่บ้านใหญ่ครับ มีชาวเขาเผ่า อาข่า(เกือบ 90%) ลีซู และจีนอ่อ
มุมนี้จะเห็นหมู่บ้านดอยช้างได้อย่างชัดเจนครับ...
ถนนหนทางไม่ได้ลำบากอย่างที่คิดครับ
มีทั้งเส้นลาดยางและถนนขรุขระ (แล้วแต่ชอบแบบไหน..)
จะมีการแต่งชุดประจำเผ่าและทำกิจกรรมร่วมกัน
ในช่วงที่มีเทศกาลต่างๆครับ...
สวนกาแฟครับ พื้นที่เกีอบทั้งหมดของดอยช้างเป็นพื้นที่ปลูกกาแฟซึ่งเป็นกาแฟที่มีชื่อเสียงระดับโลก
ดอกบ๊วยครับ สวยดีเลยเอามาให้ดู
ซากุระไทยครับ จะบานช่วงหน้าหนาว...
ดอกกาแฟซึ่งจะบานปีละประมาณ 2-3 ครั้ง โดยปกติ ครั้งแรกจะบานหลังเก็บผลผลิตหมดสักประมาณ 2 เดิอน ช่วงเจอฝนครับ...
ดอกกาแฟจะบานพร้อมกันทั้งสวนครับ...
ช่วงนี้แหละครับที่ผึ้งที่เลี้ยงไว้ในสวนกาแฟ
จะดูดน้ำหวานจากดอกกาแฟจนฉ่ำเลย...
ผลกาแฟจะเริ่มสุกในช่วงเดือน พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ ครับ
แดงๆ สุก....เขียวๆ ยังไม่สุกครับ
ลานตากกาแฟของ บ.ดอยช้าง เฟรช โรสเต็ด คอฟฟี่ จำกัด
กาแฟดอยช้างที่ตอนนี้ทั่วโลกรู้จักครับ...กาแฟไทยสุดยอดดดด...
roasting@Doichaang
Brambati เครื่องคั่วกาแฟชั้นนำของโลกขนาด 60 กก. ได้บ้านใหม่ที่โรงงานกาแฟดอยช้างมาหลายเดือนแล้ว ถึงวันนี้พี่เปาโลช่างเทคนิคชาวอิตาเลี่ยนที่มีหน้าที่ดูแลเครื่องได้เวลา ขึ้นมา service และให้คำแนะนำต่างๆ พี่วิชาประธานบริษัทฯ เลยให้โอกาสผมขึ้นมาสังเกตการณ์บ้างเผื่อจะได้ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ ก็ ถือโอกาสขอบคุณพี่วิชาและโรงงานดอยช้างมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
ภาพ นี้ถ่ายจากบนเนิน ทำให้เห็นโรงคั่วที่มีปล่องควันหลายปล่องเพราะติดตั้งเครื่องคั่วขนาด 60 กก.ถึง 2 เครื่อง และให้เห็นว่าโรงคั่วอยู่บนดอยท่ามกลางเทือกเขาและสายหมอก
เครื่องคั่วตัวใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีสูงสุด นำมาใช้คั่วกาแฟที่ดีที่สุด จากคนที่ตั้งใจทำกาแฟแบบสุดๆ
หนุ่มๆ กำลังคั่วกาแฟกันครับ ซ้ายสุดนั่นคือ ลีพี คนคั่วกาแฟ คนกลางคือ เอก ที่ปรึกษาคนสำคัญของดอยช้างและที่จับคางอยู่คือเปาโลช่างชาวอิตาเลี่ยน ทั้งหมดกำลังหันหลังให้กับเครื่องคั่ว แต่ที่จ้องกันอยู่นั้นคือหน้าจอคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้ควบคุมการคั่วทั้งระบบ
เครื่องวัดสีกาแฟคั่ว สิ่งที่คนคั่วกาแฟหลายคนใฝ่ฝันแม้แต่คนคั่วกาแฟเล็กๆ อย่างผม เมื่อได้เห็นการใช้งานแล้วทำให้เข้าใจเลยว่าเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยพัฒนาฝีมือ การคั่วได้ดีมาก เสียแต่ว่าค่าตัวมันแพงเกินกำลังไปหน่อย
คนกลางคือคุณลุงพิก่อ ผู้ร่วมก่อตั้งโรงงานกาแฟดอยช้าง บางคนยังไม่รู้ว่าคุณลุงพิก่อนี่แหละคือคนในโลโก้ของกาแฟดอยช้าง ในภาพนั้นท่านแวะเข้ามาดูในโรงคั่วและให้กำลังใจลูกหลานที่กำลังทำงาน ผมเดินทางมาดอยช้างครั้งนี้ ได้เห็นระบบการคั่วกาแฟของเครื่องใหม่นี่จนเข้าใจ ทำให้เทียบเคียงกับเครื่องคั่วและวิธีคั่วที่ตัวเองใช้อยู่ได้ มีบางแนวคิดที่น่าสนใจเช่นการตั้งโปรไฟล์การคั่วที่ใช้อุณหภูมิของเมล็ดเป็น สำคัญ ซึ่งปกติตัวผมจะใช้ทั้งอุณหภูมิและเวลาร่วมกัน ได้เห็นแนวคิดในการควบคุมความเร็วรอบของดรัม และการควบคุมลมร้อนและควัน ได้เห็นข้อดีต่างๆ ของการใช้ลมร้อน แทนการใช้ thermal transfer แบบที่ใช้กันมานานเป็นร้อยปีแล้ว ต่างๆ เหล่านี้ทำให้ผมเข้าใจการคั่วกาแฟมากขึ้น และยังตอกย้ำว่าแม้เครื่องจะมี เทคโนโลยีที่สูงมากแต่ก็ยังต้องการความคิดของ “คน” เพื่อเข้าไปควบคุมมันและจุดนี้เองที่ยืนยันว่าคอมพิวเตอร์ยังมิได้ทำให้ ศิลปะในการคั่วกาแฟลักษณะนี้ลดลง งานนี้ผมก็ได้แต่ให้คำแนะนำและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่พอมีอยู่บ้างให้กับ ลีพี แต่ที่มากกว่าเห็นจะเป็นกำลังใจให้ลีพีมุ่งมั่นตั้งใจหาประสบการณ์การ คั่วกาแฟต่อไป อาจต้องใช้เวลาอีกสักนิดแต่เชื่อว่ากาแฟคั่วของดอยช้างที่มีคุณภาพสูงอยู่ แล้วจะถูกพัฒนาต่อไปได้อีกมาก
ขอขอบคุณ OK nation blog : wankung ;
ละอ่อนดอยช้าง